วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2558

กระบวนการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีสาระสนเทศ

การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ 
         การแก้ปัญหาที่ซับซ้อนด้วยวิธีการต่างๆส่วนมากจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าช่วยเพื่อเพิ่มความรวดเร็ว ถูกต้อง และสามารถทำซ้ำได้ง่าย ในกระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าช่วยแก้ปัญหา จำเป็นต้องปรับรูปแบบวิธีการทำงานให้เหมาะสมกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
           วิธีการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นวิธีคล้ายกับการแก้ปัญกาทางวิศวกรรมมาก แต่ในการนำระบบคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการแก้ปัญหา หรือเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานใดๆ ก็ตาม จะต้องมีการวิเคราะห์ปัญหาและศึกษาความเป็นไปได้ให้รอบคอบเสียก่อน ทั้งนี้เนื่องจากคอมพิวเตอร์ไม่ใช้เครื่องมือวิเศษที่จะแก้ปัญหได้ทุกเรื่อง
นอกจากนี้ยังจะต้องมีการศึกษาถึงความคุ้มค่าในการลงทุน เพื่อไม่ให้เป็นการลงทุนที่เสียเปล่า ต้องเลือกวิธีการแก้ปัญหาให้เหมาะสมกับงาน จัดหาเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ไม่เกินความจำเป็น
การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เหมาะกับระบบงานที่ต้องทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งซากและมีปริมาณงานมากหรืองานที่ต้องการความรวดเร็วในการคำนวณเกินกว่าคนธรรมดาจะทำได้ วิธีการโดยทั้วไปคือ ปรับเปลี่ยนวิธีการหรือระบบการทำงานแบบเดิม มาใช้ระบบงานที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยทำงานเป็นบางส่วน หรือทั้งหมด เท่าที่สามารถจะทำแทนคนได้
ดังนั้น การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงต้องมีการสร้างระบบงานคอมพิวเตอร์ขึ้นมาช่วยทำงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ วิธีการโดยทั้วไป เราอาจไม่ต้องสร้างระบบงานทั้งหมดขึ้นใหม่ แต่พัฒนาระบบงานเดิมให้เป็นระบบงานที่ทำงานโดยคอมพิวเตอร์นิยมเรียกกันว่า การพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์

ขั้นตอนการพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ตามหลักวิชาว่าด้วยการวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน 
( System analysis and design )
มีการจัดขั้นตอนการพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์และสารสนเทศดังนี้
         1. วิเคราะห์ระบบงานหรือปัญหา ( System or problem analysis ) รวมถึงรายละเอียดข้อมูลที่ต้องใช้ โดยการศึกษาระบบงานเดิมอย่างละเอียด
          2. กำหนดรายละเอียดของความต้องการของผู้ใช้ระบบงาน ( Require-ments specification )
          3. ออกแบบขั้นตอนวิธีการทำงานของระบบใหม่
          4. ตรวจสอบขั้นตอนวิธีให้ได้ผลตามความต้องการ  
          5. ออกแบบโปรแกรม ( Program design )
          6.เขียนชุดคำสั่ง ( Coding )
          7. ทดสอบโปรแกรม ( Testing ) และหาที่ผิดพลาด ( Debuugging )
          8. นำโปรแกรมและระบบงานไปใช้งานจริง ( Implementation oroperation )
         9. บำรุงรักษา ติดตามผล แก้ไขปรับปรุง ( Software maintenance and improvement ) เพื่อให้ทันสมัยใช้ได้ตลอดไป จะเห็นว่าการพัฒนาระบบสารสนเทศ จำเป็นจะต้องรู้ขั้นตอนวิธีการทำงานของระบบเดิม ตามด้วยการหาวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์และโปรแกรม จากนั้นจึงออกแบบวิธีการทำงานในระบบใหม่ให้ระเอียดซึ่งจะต้องมีการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขึ้นมาช่วยทำงานบางส่วน หรือทั้งหมด

ขั้นตอนการพัฒนาระบบงานโดยการจัดซื้อโปรแกรมสำเร็จรูป ในกรณีที่เราไม่ได้พัฒนาโปรแกรมเอง แต่เป็นการจัดซื้อโปรแกรมสำเร็จรูปมาใช้งาน 
     เราอาจปรับเปลี่ยนขั้นตอนมาเป็นดังนี้
     1. วิเคราะห์ปัญหาและระบบงานที่จะทำ ( System or problem analysis ) รวมถึงรายละเอียดข้อมูลที่มีอยู่
     2. กำหนดรายละเอียดของความต้องการของผู้ใช้ระบบงาน ( Require-ments specification )
     3. ออกแบบขั้นตอนวิธีการทำงานของระบบใหม่
     4. ตรวจสอบขั้นตอนวิธีว่าให้ผลตรงกับที่ต้องการ
     5. จัดหาโปรแกรมที่ทำงานตรงตามความต้องการ โดยการซื้อหรือจ้างทำ
     6. นำโปรแกรมและระบบงานไปใช้จริง ( Implementation oroperation )
     7. บำรุงรักษาระบบ ติดตามผลและแก้ไขปรับปรุง ( Software mainte-mance and improvement )

        

IP Address 

       ปัจจุบันนี้คอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปบนโลกนี้มีมากมาย และทุกเครื่องก็สามารถที่จะเชื่อมต่อถึงกันด้วย และถ้าระบบเครือข่ายไม่มี IP Address แล้วละก็ เราจะไม่สามารถที่จะรู้ได้เลยว่าข้อมูลนี้ส่งมาจากเครื่องไหน และเล่นอยู่ที่ไหน ซึ่งในหลักความเป็นจริงแล้ว ถ้าIP Address ซ้ำกันเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้นก็จะมีปัญหา เปรียบได้กับเลขที่บ้านซ้ำกัน เมื่อไปรณีย์จ่ายจดหมายก็จะไม่สามารถจ่ายได้ถูกบ้าน ซึ่งนี่เองเป็นเหตุผลที่จะต้องมี IP Address ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์


IP Address คืออะไร
     IP Address คือหมายเลขที่สามารถระบุแยกแยะความแตกต่างของเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เครือข่ายต่าง ๆ ที่มีการเชื่อมต่อในเครือข่ายเดียวกัน หรือจะเป็นการเชื่อมต่อนอกเครือข่ายก็ได้เช่นกัน อย่างที่กล่าวมาแล้วในตอนต้นว่า IP Address เปรียบได้ดังเลขที่บ้านในการตั้ง IP Address จะตั้งไม่ให้ซ้ำกันอย่างเด็ดขาด เพราะถ้าซ้ำกันจะทำให้เกิดความสับสนในการติดต่อสื่อสารภายในเครือข่าย ซึ่งนี่เองเลยมีหน่วยงานที่ออกมากำหนดเรื่องของการตั้งค่า IP Address ขึ้นมา

IP Address


       หน่วยงานนี้คือ องค์การกำหนดหมายเลขอินเทอร์เน็ต (IANA) เป็นผู้ดำเนินการจัดสรร IP Address ทั่วโลก และให้หน่วยงานทะเบียนอินเทอร์เน็ตประจำภูมิภาค (RIR) ทำหน้าที่จัดสรรกลุ่มเลขที่อยู่ IP Address สำหรับ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและหน่วยงานอื่น ๆที่เกี่ยวข้องอีกทีหนึ่ง
       โดยที่เลข IP Address ในปัจจุบันนี้มีอยู่ 2 แบบด้วยกันคือ IPv4 และ IPv6 ซึ่ง IP Address IPv4 นี้ถือกำเนิดมาก่อนเป็นแบบ ตัวเลข 32 บิต ซึ่งในปัจจุบันก็ยังมีใช้งานอยู่แต่เนื่องจากการใช้งานอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันในเติบโตอย่างรวดเร็วทำให้ต้องมีการคิดค้นเลข IP Address ขึ้นมารองรับ นั้นก็คือ IPv6 ใช้ตัวเลข 128 บิต พัฒนาขึ้นใน ค.ศ. 1995 และได้ทำให้เป็นมาตรฐานใน อาร์เอฟซี 2460 เมื่อ ค.ศ. 1998
IP Address
ตัวอย่างการตั้งค่า IP Address
การแบงขนาดของเครือข่าย 
        เหตุที่ต้องมีการแบ่ง class ก็เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบ เป็นการแบ่ง IP Address ออกเป็นหมวดหมู่นั้นเอง สิ่งที่จะเป็นตัวจำแนก class ของ network ก็คือ bit ทางซ้ายมือสุดของตัวเลขตัวแรกของ IP Address (ที่แปลงเป็นเลขฐาน 2 แล้ว) นั่นเอง โดยที่ถ้า bit ทางซ้ายมือสุดเป็น 0 ก็จะเป็น class A ถ้าเป็น 10 ก็จะเป็น class B ถ้าเป็น 110 ก็จะเป็น class C ดังนั้น IP Address จะอยู่ใน class A ถ้าตัวเลขตัวแรกมีค่าได้ตั้งแต่ 0 ? 127 (000000002 ? 011111112) จะอยู่ใน class B ถ้าเลขตัวแรกมีค่าตั้งแต่ 128 ? 191 (100000002 ? 101111112) และ จะอยู่ใน class C ถ้าเลขตัวแรกมีค่าตั้งแต่ 192 - 223 (110000002 ? 110111112) มีข้อยกเว้นอยู่นิดหน่อยก็คือตัวเลข 0, 127 จะใช้ในความหมายพิเศษ จะไม่ใช้เป็น address ของ network ดังนั้น network ใน class A จะมีค่าตัวเลขตัวแรก ในช่วง 1 ? 126 
       สำหรับตัวเลขตั้งแต่ 224 ขึ้นไป จะเป็น class พิเศษ  อย่างเช่น  Class D ซึ่งถูกใช้สำหรับการส่งข้อมูลแบบ Multicast ของบาง Application และ Class E ซึ่ง Class นี้เป็น Address ที่ถูกสงวนไว้ก่อน ยังไม่ถูกใช้งานจริง ๆ  โดย Class D และ Class E นี้เป็น Class พิเศษ ซึ่งไม่ได้ถูกนำมาใช้งานในภาวะปกติ

    ตัวอย่าง IP Address
    Class A ตั้งแต่ 10.xxx.xxx.xxx
    Class B ตั้งแต่ 172.16.xxx.xxx ถึง 172.31.xxx.xxx
    Class C ตั้งแต่ 192.168.0.xxx ถึง 192.168.255.xxx 

       จาก IP Address เราสามารถที่จะบอก ได้คร่าวๆ ว่า computer 2 เครื่องอยู่ใน network วงเดียวกันหรือเปล่าโดยการเปรียบเทียบ Network ID ของ IP Address ถ้ามี Network ID ตรงกันก็แสดงว่าอยู่ใน network วงเดียวกัน เช่น computer เครื่องหนึ่งมี IP Address 1.2.3.4 จะอยู่ใน network วงเดียวกับอีกเครื่องหนึ่งซึ่งมี IP Address 1.100.150.200 เนื่องจากมี Network ID ตรงกันคือ 1 (class A ใช้ Network ID 1 byte) 

วิธีตรวจสอบ IP Address
    1.คลิกปุ่ม Start เลือก Run
    2.พิมพ์คำว่า cmd กดปุ่ม OK
    3.จะได้หน้าต่างสีดำ
    4.พิมพ์คำว่า ipconfig กด enter
    5.จะเห็นกลุ่มหมายเลข IP Address 

2014-04-02_171002

ประโยชน์ของ IP Address ในระบบ Network
       IP Address มีประโยชน์ในระบบ Network อย่างมาก ก็อย่างที่เกริ่นไปแล้วในตอนแรกแล้วว่า IP Address มีความสำคัญมากสำคัญระบบเครือข่าย เพราะว่าเลข IP Address เป็นเลขเฉพาะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งแต่ละเครื่องจะมีเลข IP Address ที่ไม่เหมือนกัน เพื่อไม่ให้เกิดความความสับสนในการติดต่อสื่อสารภายในเครือข่าย และยังช่วยให้ผู้ดูแลระบบเครือข่ายสามารถออกแบบสร้างและควบคุมการทำงานของเครือข่ายได้อย่างง่ายได้และไม่สับสน IP Address เป็นสิ่งที่ทุกคนควรที่จะรู้จักและทำความเข้าใจเกี่ยวกับ IP Address ให้มากยิ่งขึ้นหลักใหญ่ใจความในการตั้งเลข IP Address และเป็นหลักที่สำคัญไม่ว่าระบบ Network นั้นจะเล็กหรือใหญ่ก็ตาม ก็คือต้องไม่ตั้งเลข IP Address ให้ซ้ำกันอย่างเด็ดขาดเลยทีเดียว